Month: April 2025

เปิดโครงการวิจัยศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 67 นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งจะมีการจัดประชุมระหว่าง 9 – 12 ก.ค. 67 ณ โรงแรม ฮิพ กรุงเทพฯ ในการประชุมฯ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้แนะนำนรายละเอียดของคณะทำงานย่อย ชุดที่ 1 ชื่อว่า “คณะทำงานศึกษา…

คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Center) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนโดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต จึงได้ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ซึ่งได้มีการนำร่างดกรอบหลักสูตรดังกล่าว ไปการทดลองใช้กับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มูลนิธิสยามกัมมาจลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะฉบับนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ผ่านการวิจัยศึกษาผลการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร กระบวนการและผลการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีเนื้อหาสำคัญ…

สพฐ. แจ้ง ผอ.สพท. เป็นเจ้าภาพร่วม กขน. ขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังและจัดส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบ

ตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อรวมพลังทุกภาคส่วนในจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้สถานศึกษานำร่องมีความคล่องตัวมากขึ้น ในการริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน สร้างการเปลี่ยนแปลงการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด วิธีการ กระบวนการ และรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษาได้จริง แล้วถอดบทเรียนจากผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานมาใช้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และให้มีการขยายผลนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน สำหรับการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กขน.) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมเป็นกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา…

มีผลใช้บังคับแล้ว: มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ

ตามที่ คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2566 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วนั้น (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) บัดนี้ มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2566 ได้มีผลใช้บังคับแล้ว สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) จึงได้จัดทำแหล่งสืบค้น Download มาตรฐานข้อมูลฯ ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นและ Download รายละเอียดได้จากเว็บไซต์มาตรฐานข้อมูลฯ ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่ https://std.edusandbox.com Download เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6)

ด้วยพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีเจตนารมณ์ในการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถนศึกษานำร่อง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และสอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งมติของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 ในวันที่ 21 กันยายน 2563 เห็นชอบให้หลักสูตรอิงสมรรถนะที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังดำเนินการวิจัย (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชระดับประถมศึกษาให้เป็นหลักสูตรตามมาตรา 25 วรรคสี่ โดยให้สถานศึกษานำร่องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดหลักการของหลักสูตรอิงสมรรถะ หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองได้ สวก. จึงได้จัดทำแนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแผร่ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2566 (เล่ม 140 พิเศษ 32 ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หน้า 28) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป Download โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป รายการค่าใช้จ่ายดำเนินงานให้แก่สถานศึกษานำร่องในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 15 (13) และมาตรา…

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 11 พื้นที่

ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพันตำแหน่ง ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เพื่อใช้เป็น แนวทางในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (13) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และข้อ 4…

สรุป ความรู้และบทเรียน เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากการปฐมนิเทศฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา สบน. ได้จัดการปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (อ่านรายละเอียด) รับชมและดาวน์โหลดเอกสารย้อนหลัง (คลิก) จากการปฐมนิเทศ ดังกล่าว ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและผู้แทนจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง และสตูล ได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนฯ และตัวอย่างของจังหวัด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์ร่วมกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมในการปฐมนิเทศ ผู้เขียนจึงได้สรุปสาระสำคัญที่เป็น “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ เป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา…