Author: admin

กระบี่พลิกโฉมการศึกษา สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม

จังหวัดกระบี่ได้พัฒนาโมเดลนวัตกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงประจักษ์ ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า “Krabi Localized Innovative Education Model (KLIEM)” ซึ่งเป็นการนำเอาบริบท วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในจังหวัดกระบี่มาใช้เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการประมงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงาน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เฉพาะของจังหวัดกระบี่ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การจัดการโรงแรมและการบริการที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการประมงที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของพื้นที่และยังมีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระดับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการพัฒนานักเรียน ดังนี้ การพัฒนาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้วยเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณที่จัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมได้จริง เกิดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ทันสมัยและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก ทำให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนนำร่องในจังหวัดกระบี่มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนในหลายมิติ ตัวอย่างเช่น…

BKD 5G Model นวัตกรรมบริหารสถานศึกษาสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

การบริหารสถานศึกษาในยุคปัจจุบันต้องอาศัยนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคมอย่างรอบด้าน BKD 5G Model เป็นหนึ่งในโมเดลที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์การบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทั้งองค์กร บุคลากร และการเรียนรู้ของนักเรียน 1. นวัตกรรม BKD 5G Model นั้นคืออะไร?BKD 5G Model เป็นโมเดลการบริหารจัดการสถานศึกษาที่พัฒนาโดยใช้ชื่อของโรงเรียนบ้านควนแดง สพป.กระบี่ (Bankhuandang) และเพิ่มคำว่า 5G เพื่อสื่อถึงความทันสมัยและก้าวหน้า การดำเนินงานของโมเดลนี้ใช้กระบวนการ PDCA (Plan, Do, Check, Act)…

เปิดโครงการวิจัยศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของกฎหมายว่าด้วยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 67 นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการศึกษาผลกระทบเชิงประจักษ์ของพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 ต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งจะมีการจัดประชุมระหว่าง 9 – 12 ก.ค. 67 ณ โรงแรม ฮิพ กรุงเทพฯ ในการประชุมฯ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้แนะนำนรายละเอียดของคณะทำงานย่อย ชุดที่ 1 ชื่อว่า “คณะทำงานศึกษา…

คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ

กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner Center) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด และก้าวหน้าไปตามความสามารถของตนโดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต จึงได้ร่างกรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ซึ่งได้มีการนำร่างดกรอบหลักสูตรดังกล่าว ไปการทดลองใช้กับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ กาญจนบุรี ศรีสะเกษ ระยอง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมการบริหารวิชาการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มูลนิธิสยามกัมมาจลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะฉบับนี้ขึ้น เพื่อนำเสนอแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ โดยประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ผ่านการวิจัยศึกษาผลการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร กระบวนการและผลการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยมีเนื้อหาสำคัญ…

สพฐ. แจ้ง ผอ.สพท. เป็นเจ้าภาพร่วม กขน. ขับเคลื่อนอย่างเต็มกำลังและจัดส่งรายชื่อผู้รับผิดชอบ

ตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เพื่อรวมพลังทุกภาคส่วนในจังหวัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเชิงพื้นที่และแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้สถานศึกษานำร่องมีความคล่องตัวมากขึ้น ในการริเริ่ม พัฒนา คิดค้น ปรับเปลี่ยน สร้างการเปลี่ยนแปลงการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนและลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาและการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิด วิธีการ กระบวนการ และรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าเชื่อถือว่าสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษาได้จริง แล้วถอดบทเรียนจากผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานมาใช้เพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง และให้มีการขยายผลนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน สำหรับการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในแต่ละพื้นที่ มีคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (กขน.) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมเป็นกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา…

มีผลใช้บังคับแล้ว: มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ

ตามที่ คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้ออกประกาศ เรื่อง มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2566 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วนั้น (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) บัดนี้ มาตรฐานข้อมูลและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการศึกษาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและสถานศึกษานำร่อง พ.ศ. 2566 ได้มีผลใช้บังคับแล้ว สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.) จึงได้จัดทำแหล่งสืบค้น Download มาตรฐานข้อมูลฯ ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นและ Download รายละเอียดได้จากเว็บไซต์มาตรฐานข้อมูลฯ ของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่ https://std.edusandbox.com Download เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. (ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6)

ด้วยพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 มีเจตนารมณ์ในการกระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถนศึกษานำร่อง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และสอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาซึ่งมติของคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 ในวันที่ 21 กันยายน 2563 เห็นชอบให้หลักสูตรอิงสมรรถนะที่สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังดำเนินการวิจัย (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราชระดับประถมศึกษาให้เป็นหลักสูตรตามมาตรา 25 วรรคสี่ โดยให้สถานศึกษานำร่องสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดหลักการของหลักสูตรอิงสมรรถะ หรือใช้นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ไปทดลองพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเองได้ สวก. จึงได้จัดทำแนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…