Author: admin

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแผร่ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2566 (เล่ม 140 พิเศษ 32 ง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 หน้า 28) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป Download โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป รายการค่าใช้จ่ายดำเนินงานให้แก่สถานศึกษานำร่องในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาศัยอานาจตามความในมาตรา 15 (13) และมาตรา…

ประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 11 พื้นที่

ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง องค์ประกอบ จำนวน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพันตำแหน่ง ของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เพื่อใช้เป็น แนวทางในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (13) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 และข้อ 4…

สรุป ความรู้และบทเรียน เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จากการปฐมนิเทศฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา สบน. ได้จัดการปฐมนิเทศและแลกเปลี่ยนรู้ “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (อ่านรายละเอียด) รับชมและดาวน์โหลดเอกสารย้อนหลัง (คลิก) จากการปฐมนิเทศ ดังกล่าว ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและผู้แทนจากพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ระยอง และสตูล ได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนฯ และตัวอย่างของจังหวัด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์ร่วมกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวมในการปฐมนิเทศ ผู้เขียนจึงได้สรุปสาระสำคัญที่เป็น “บทเรียนทรงพลัง” เพื่อการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ เป้าหมายของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา…

กระบี่พลิกโฉมการศึกษา สร้างโอกาสด้วยนวัตกรรม

จังหวัดกระบี่ได้พัฒนาโมเดลนวัตกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้เชิงประจักษ์ ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า “Krabi Localized Innovative Education Model (KLIEM)” ซึ่งเป็นการนำเอาบริบท วัฒนธรรมท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในจังหวัดกระบี่มาใช้เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการประมงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการในตลาดแรงงาน และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการพัฒนานักเรียน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้เฉพาะของจังหวัดกระบี่ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การจัดการโรงแรมและการบริการที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับการประมงที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของพื้นที่และยังมีการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระดับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อการพัฒนานักเรียน ดังนี้ การพัฒนาคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้วยเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณที่จัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ช่วยให้โรงเรียนสามารถพัฒนานวัตกรรมได้จริง เกิดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ทันสมัยและเชื่อมโยงกับโลกภายนอก ทำให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนนำร่องในจังหวัดกระบี่มีความก้าวหน้าที่ชัดเจนในหลายมิติ…